ประวัติความเป็นมาพระพุทธรูปปางประทานพร
‘พระพุทธรูปปางประทานพร’ เป็นพระพุทธรูปที่มีความเชื่อว่า เป็นพระประจำปีมะแม ลักษณะภายนอกของพระพุทธรูปปางนี้ จะทำท่าห้อยพระหัตถ์เบื้องขวา ทางด้านองค์พระพุทธรูปนั้นปรากฏพบว่า มีทั้งท่านั่งขัดสมาธิ, ยืน และเดิน
ในส่วนของท่ายืนของปางประทานพร ก็มีไม่เหมือนกับปางขอฝน ซึ่งปางประทานพรจะทรงห้อยพระหัตถ์ลง หากแต่ถ้าเป็นปางขอฝนจะทรงหงายพระหัตถ์ขึ้น โดยเป็นเครื่องหมายให้รับรู้ว่ากำลังรับน้ำฝนอยู่ อีกทั้งยังมีความแตกต่างกับปางประทานอภัยอีกด้วย โดยพระหัตถ์ข้างที่ทรงผายออก ถ้าเป็นปางประทานพรพระหัตถ์ข้างที่ทรงยกขึ้นจะงอปลายนิ้วลงมาเพียงเล็กน้อย หากแต่ปางประทานอภัยจะมีความแตกต่าง ตรงที่จะตั้งนิ้วขึ้น ไม่ได้มีการงอปลายนิ้วลงเลยแม้แต่น้อย
ประวัติพระพุทธรูปปางประทานพร ถือกำเนิดมาตั้งแต่โบราณกาล
ประวัติ ปางประทานพรในท่านั่ง
ตอนที่พระอานนท์ได้รับการคัดเลือก ให้ทำหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า พระอานนท์ได้ทูลขอพร 8 ประการ จากพระพุทธเจ้า โดยพร 4 ข้อแรก ได้แก่…
- ไม่ต้องประทานจีวรอันสวยงามให้แก่ท่าน
- ไม่ต้องประทานบิณฑบาตที่พระองค์ได้มาให้แก่ท่าน
- ไม่ต้องประทานให้ท่านอยู่คันธกุฏิเดียวกับพระพุทธเจ้า
- ไม่พาท่านไปในที่นิมนต์
และพร 4 ข้อหลัง ได้แก่…
- ขอให้พระพุทธเจ้าไปในนิมนต์ที่ท่านรับไว้
- ถ้าท่านนำพุทธบริษัทมาขอให้ได้เข้าเฝ้าทันที
- ถ้ามีความสงสัยขอให้ถามได้ทันที
- ถ้าพระพุทธเจ้าทรงไปแสดงธรรมที่ไหน ถ้าพระอานนท์ไม่ได้ฟัง ขอให้แสดงแก่ท่านอีกครั้งหนึ่ง
พระพุทธเจ้าจึงได้ประทานพรทั้ง 8 ประการ ให้แก่พระอานนท์
ประวัติ ปางประทานพรในท่ายืน
มีเรื่องเล่าว่า ครั้นเมื่อนางมหาอุบาสิกาวิสาขา ที่เป็นหญิงซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีครบตามหลักเบญจกัลยาณี ได้แก่ มีผมงาม , เนื้องาม , ฟันงาม , ผิวงาม และวัยงาม นางเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง จนกระทั่งได้บรรลุเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุเพียง 7 ขวบ ต่อมาในช่วงฤดูฝนในพรรษาหนึ่ง นางวิสาขาได้ขอให้นางทาสีช่วยนิมนต์พระภิกษุมารับภัตตาหาร แต่พอดีว่าเป็นช่วงฝนตก พระภิกษุกำลังเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ นางทาสีดันบังเอิญไปเห็นเข้าพอดี จึงเข้าใจว่าเป็นนักบวชจากลัทธิชีเปลือย นางทาสีจึงรีบกลับไปบอกความนี้แก่นางวิสาขา ต่อมาหลังจากที่นางวิสาถวายภัตตาหารให้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว นางจึงกราบทูลขอประทานพรเพื่อถวายสิ่งของต่างๆ ให้แก่ภิกษุ และภิกษุณี อันได้แก่…
- ผ้าอาบน้ำฝน
- อาหารสำหรับภิกษุอาคันตุกะ
- อาหารสำหรับภิกษุผู้เตรียมจะไป
- อาหารสำหรับภิกษุป่วยไข้
- อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลภิกษุ
- ยาสำ