ความเป็นมาพระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์
พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ถูกสร้างขึ้นเนื่องในวันวโรกาสทรงครองสิราชสมบัติ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อถวายเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9 โดยมีความสูง 109 ในรูปแบบของ “ปางมารวิชัย” ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย ในสมัยก่อนนี้เขาชีจรรย์เกือบจะไม่เหลือให้เราเห็นแบบทุกวันนี้แล้ว เนื่องจากเป็นบริเวณที่ถูกระเบิดเอาหินไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเห็นว่ามันควรที่จะเก็บอนุรักษ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังจึงได้สั่งให้ละเว้นการระเบิดไปในที่สุด
จุดเริ่มต้นโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก
เนื่องจากเป็นงานที่ใหญ่และท้าทายด้านวิศวกรรมในยุคสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ทำให้มีการระดมทีมวิศวกรจากไทย – จีน ร่วมการวางแผนในการสร้างร่วมกัน โดยในฝ่ายของไทยนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา นุตาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านทางธรณีวิทยาของไทย หลังจากที่หลายฝ่ายได้ดำเนินการตรวจสอบแล้วก็คิดว่าโครงการนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อย่างไรก็ตามทางฝ่ายเราก็ยืนยันที่จะเดินหน้าโครงการต่อด้วยการมอบหมายงานก่อสร้างให้แก่บริษัทเอกชนคือ “บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์” ด้วยทุนในการสร้าง 43 ล้านบาท
หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วพระพุทธรูปใช้วิธีแกะสลักด้วยเลเซอร์ แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นการใช้วิธีระเบิดผสมกับเครื่องตัดคอนกรีต ส่วนเลเซอร์นั้นใช้สำหรับการนำร่องเพื่อเป็นแนวในการตัดนั่นเอง โดยแนวเส้นจะมีขนาดประมาณ 1 เมตร มีความลึกประมาณ 0.5 เมตร หลังจากที่ทีมก่อสร้างได้ทำการระบิดบางส่วนกลับพอว่าลายเส้นมองเห็นได้ไม่ชัดเจน จึงกลับไปวางแผนกันใหม่อีกครั้ง โดยรอบนี้เปลี่ยนขนาดกว้างเป็น 0.5 เมตร ความลึกประมาณ 0.10 เมตร โดยเมื่อแกะสลักร่องจนเสร็จสมบูรณ์จะเริ่มพ่นซีเมนต์ให้ได้พื้นผิวนูนขึ้นมาเล็กน้อย
งานเข้าทีมออกแบบหน้าพระ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ก่อนกลับประองค์ได้สั่งให้เฮริค๊อปเตอร์บินวนเพื่อตรวจสอบความคืบหน้า ทันใดนั้นก็มีคนแจ้งลงมายังเจ้าหน้าที่ด่านล่างว่า “หน้าพระไม่สวย” ทำเอาอาจารย์กนก บุญโพธ์แก้ว ผู้รับหน้าในส่วนของลายเส้นองค์พระถึงกับงานเข้ากันเลยทีเดียว โดยมีการปรับแก้งานครั้งใหญ่ ทีมงานต้องระเบิดผิวที่นูนเป็นลายเส้นในบริเวณส่วนใบหน้าทิ้งทั้งหมด จากนั้นจึงขึ้นรูปที่ถูกแก้ไขใหม่โดยอาจารย์กนกฯ
มาถึงขั้นตอนสำคัญที่เหลืออยู่นั่นคือการปิดทองคำแท้บินตรงมาจากอิตาลี มูลค่ากว่า 18 ล้านบาท ซึ่งนำมาติดทับรอยนูนของคอนกรีตเพื่อทำเป็นลายเส้นทองคำที่ดูสวยงาม ตามด้วยเนตรนิลดำโมเสค สุดท้ายคือการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุถือเป็นอันสิ้นสุดการก่อสร้างพระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์